The 3rd National Conference on Humanities and Social Sciences 3rd HUNIC Conference 2020
วันที่ 25 กันยายน 2563
ณ อาคาร 38 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
กำหนดการ | กิจกรรม |
---|---|
ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 | เปิดรับสมัครผู้สนใจส่งบทความ (Full Paper) ทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://hunic.srru.ac.th |
ภายในวันที่ 4 กันยายน 2563 | คัดเลือกบทความโดยกองบรรณาธิการ |
ภายในวันที่ 10 กันยายน 2563 | ประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เชี่ยวชาญ |
ภายในวันที่ 15 กันยายน 2563 | นักวิจัยส่งบทความ (Full Paper) ฉบับแก้ไข |
ภายในวันที่ 18 กันยายน 2563 | ตอบรับการนำเสนอบทความ (Acceptance Letter) |
วันที่ 25 กันยายน 2563 | นำเสนอบทความผ่านการประชุมออนไลน์ (Microsoft Team) |
ภายในเดือนตุลาคม 2563 | จัดทำ Proceeding online (ฉบับสมบูรณ์) พร้อมออนไลน์บนเว็บไซต์ |
กลุ่มบทความการประชุมระดับชาติ | |
---|---|
1. กลุ่มมนุษยศาสตร์ (HU-NC) | (ภาษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ อักษรศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ดนตรี นาฎศิลป์ วัฒนธรรม) |
2. กลุ่มสังคมศาสตร์ (SO-NC) | (สังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์) |
3. กลุ่มการศึกษา (ED-NC) | (การสอน การพัฒนาหลักสูตร การประถมศึกษา) |
4. กลุ่มอื่น ๆ (OT-NC) |
ประเภทของการนำเสนอ | ระดับชาติ |
---|---|
อัตราค่าลงทะเบียน ต่อ 1 ผลงาน | 2,000.- |
การส่งบทความ |
---|
ผู้สนใจส่งบทความนำเสนอในงานประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สามารถส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ https://hunic.srru.ac.th หรือทางอีเมลล์ hunic@srru.ac.th ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนในแบบเสนอของส่งบทความ พร้อมกับบทความ และสำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมมาที่ |
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และช่องทางการติดต่อสื่อสาร |
---|
ฝ่ายวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โทรศัพท์/โทรสาร 044-513369 ผศ.ดร.จิรายุ ทรัพย์สิน โทรศัพท์ 088-5953189 และ ดร.สิริพัฒถ์ ลาภจิตร โทรศัพท์ 090-2764828 นางปิยนุช ผมพันธ์ โทรศัพท์ 098-0960308 ดร.จำนงค์ จันทร์เขียว โทรศัพท์ 087-6498040 และ น.ส.ทองพันธ์ แพใหญ่ (การเงิน)โทรศัพท์ 095-6095694 อีเมลล์ : hunic@srru.ac.th |
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
9. รูปแบบการนำเสนอผลงาน
9.1 นำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) ใช้เวลานำเสนอรวม 15 นาทีต่อคน แยกเป็นใช้เวลานำเสนอเรื่องละ 12 นาที และตอบข้อซักถาม 3 นาที ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Microsoft Team)
9.2 การจัดทำบทความฉบับเต็ม (Full Paper) สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://hunic.srru.ac.th
10. การพิจารณาผลงาน
กองบรรณาธิการในการจัดงานประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติขอสวนสิทธิ์ในการพิจารณาและดำเนินการดังนี้
10.1 พิจารณาเลือกกลุ่มนำเสนอผลงาน
10.2 พิจารณาคัดเลือกผลงานที่นำเสนอในที่ประชุมและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือ Proceeding
10.3 พิจารณาตัดสิทธิ์การนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการดังนี้
10.3.1 บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่ไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มกำหนดรวมทั้งไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
10.3.2 การลงทะเบียนและการชำระเงินค่าลงทะเบียนล่าช้า และ/หรือไม่ครบถ้วน
10.3.3 การพิจารณาผลงานโดยกองบรรณาธิการ ถือเป็นที่สิ้นสุด
11. เงื่อนไขพิเศษการพิจารณาผลงานลงวารสารทางวิชาการในระดับชาติ
บทความที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรอง (Peer Reviews) และกองบรรณาธิการแล้วอยู่ในเกณฑ์คะแนนประเมินระดับ “ดีมาก” จะได้สิทธิ์ในการเข้ารับการตีพิมพ์เผยแพร่ลงวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลวารสารทางวิชาการในระดับชาติของศูนย์ดัชนีการอ้างวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2 (Tier 2) คือ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ISSN (Print) 1905-551X ISSN (Online) 2672-9849 และวารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น ISSN (Print) : 2673-0839 ISSN (Online) : 2673-0405 ทั้งนี้ บทความที่ผ่านการพิจารณาดังกล่าวต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานเงื่อนไขและนโยบายของวารสารทุกประการ
12. การมอบเกียรติบัตร
ในการประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 จะมีการมอบเกียรติบัตรอิเล็คทรอนิก
13. ผลผลิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
13.1 คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ รวมทั้งนักวิจัยจากสถาบัน/องค์กร มีผลงานวิจัยและวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในรายงาน สืบเนื่องจากการประชุมและวารสารวิชาการ
13.2 เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยจากสถาบัน องค์กรและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากการนำเสนอผลงาน นำไปสู่การ พัฒนาท้องถิ่นและประเทศได้
13.3 เกิดการเชื่อมโยงการวิจัยและงานวิชาการที่มีศักยภาพนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์ทั้ง เชิงวิชาการ เชิงนโยบาย เชิงสังคมและชุมชน
13.4 เกิดการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างคณาจารย์และบุคลากรของคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ นักวิชาการและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ